VR เทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ยุค 4.0

VR เทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ยุค 4.0



“VR”      VR คือ สภาพสิ่งแวดล้อมที่เราจำลองขึ้นมาจากข้อมูลของคอมพิวเตอร์ แล้วแสดงผลในรูปแบบของสามมิติ โดยสามารถที่จะดูได้จากอุปกรณ์แสดงผล  และอุปกรณ์ที่ช่วยในการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่จำลองขึ้นมาได้ ลองนึกๆ ดูสิ่งของรอบตัวเราหลายอย่าง เช่น เกมส์ Kinect แว่นตา VR จอแบบที่แสดงผล 3 มิติ และมีอีกหลายๆ อย่างที่เราเริ่มสัมผัสกับ VR ได้ ไม่ใช่แค่อยู่ในห้องทดลอง  โลกของการศึกษาเสมือนจริงเทคโลโลยี VR เข้าช่วย เด็กๆ ทุกคนใส่แว่นตาสามมิติ เช่น จำลองการเล่นฟุตบอล เด็กๆก็สามารถมองเห็นสนามฟุตบอลเสมือนหรือทุ่งหญ้าแห่งความฝัน มีรองเท้าหรืออุปกรณ์ที่จะตอบสนองกับสภาพแวดล้อมเสมือนที่สร้างขึ้นมาได้ แล้วก็จะสามารถลงเล่นฟุตบอลได้พร้อมๆ กันทั้งชั้นเรียน (ถ้ามีอุปกรณ์ครบทุกคน) ไม่ต้องคอยมาแบ่งกันเล่นทีละทีม หรือพอจบจากพละก็ไปเรียนวิชาชีววิทยา เราเรียนเรื่องอวัยวะภายใน สมัยที่เราเรียนก็คงมีแค่หุ่นแล้วก็หัวใจเทียมๆ ให้ดู ให้จับต้อง แต่ถ้าเด็กๆ ได้มีแว่น VR ก็สามารถที่จะได้เห็นอวัยวัยวะทุกส่วนของร่างกายทั้งภายในและภายนอก เด็กๆ สามารถที่จะเห็นลักษณะการเต้นของหัวใจ ระบบการไหลเวียนของเลือด ระบบทางเดินอาหาร สามารถที่จะสัมผัสและรับรู้ได้ว่าอวัยวะต่างๆ ของเราทำงานอย่างไร ซึ่งมันทำให้การเรียนรู้ของเด็กๆ มีความสนุกและเข้าใจง่ายมากขึ้น



Samsung – Gear VR
อุปกรณ์ VR ที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง Samsung และ Oculus
ในระบบการศึกษายุคใหม่เราจะไม่ได้เน้นเพียงแค่ความรู้ที่เด็กจะได้รับ แต่เราต้องเน้นไปที่การพัฒนาทักษะต่างๆ รวมถึงการมีส่วนร่วม และการฝึกให้เด็กๆ ได้คิดและจินตนาการ ไม่ใช่สอนแต่ให้เด็กๆ ท่องจำ การศึกษาที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือที่เราเรียกว่า STEM Education ถ้าเรามองที่บริบทของการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิตอลแล้ว เทคโนโลยี VR คงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยส่งเสริมเด็กๆ ของเราได้มีโอกาสในการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างที่ตัวอักษรและภาพไม่สามารถที่จะอธิบายได้อย่างชัดแจ้ง ที่สำคัญ VR จะช่วยให้เด็กมีความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้นกว่าการเรียนรู้จากการอ่านแค่ในตำรา มาช่วยกันสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของ VR กันตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อให้วันที่เทคโนโลยีสามารถที่จะนำมาใช้ในสถาบันการศึกษาได้ เราจะได้มีสื่อไว้สอนเด็กๆ ได้ทันที ไม่ต้องมารอสร้างสื่อกันอีกทีนึง



ความคิดเห็น